updates

The Mad World of Creativity 04 : Spying on Asian Pritzker Prize Legends – Part 2

ปลุกทุกฝัน ปั้นทุกจินตนาการให้เป็นจริง กับวัสดุหินระดับโลกจาก Stone & Style ผู้จัดจำหน่าย แผ่นหินควอตซ์, หินควอตซ์, quartz, หินเทียม, หินอ่อนอัด, หินอิตาลี, กระเบื้องอิตาลี, ท็อปครัว, ท๊อปหิน จากแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก เช่น Silestone, Dekton, Santamargherita, Fuoriformato และ Sicis Vetrite แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย

 
 
เมื่อ 41 ปีก่อน The Pritzker Price เกียรติยศสูงสุดของอาชีพสถาปนิกเทียบเท่ารางวัลโนเบลแห่งโลกสถาปัตย์ ได้ถือกำเนิดขึ้นเพื่อเชิดชูเกียรติและตอบแทนความมุ่งมั่นของสถาปนิกผู้ขับเคลื่อนวงการสถาปัตยกรรมให้ล้ำสมัยด้วยความคิดสร้างสรรค์อันเหลือเชื่อ ในแต่ละปีจะมีเพียงสถาปนิกมืออาชีพเพียง 1 ท่านเท่านั้น ที่กรรมการลงความเห็นแล้วว่าเป็นผู้ทุ่มเท ยืนหยัด และพัฒนาความคิดจนเกิดสถาปัตยกรรมอันทรงพลัง ซึ่งแน่นอนว่าเขาหรือเธอผู้นั้นเหมาะสมที่สุดที่จะได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
 
ในบรรดาสุดยอดสถาปนิกรางวัล The Pritzker Price ทั้งหมด น่าสนใจที่ว่ามี 11 ท่านเป็นสถาปนิกชาวเอเชีย ที่สร้างผลงานอันทรงอิทธิพล ผสานเชื่อมโยงเสน่ห์ข้ามซีกโลกให้เราได้สัมผัสโดยไม่รู้ตัว Stone & Style ขอชวนคุณรู้จักภาคต่อของสถาปนิกชาวเอเชียอีก 6 ท่าน เพิ่มเติมจาก 5 ท่านแรก ผู้เขย่าวงการสถาปัตยกรรมและดีไซน์ของโลกมานับสิบปีจนได้ครอบครองรางวัลแห่งเกียรติยศอันสูงสุดนี้
 
6. Kazuyo Sejima and Ryue Nishizawa (2010)
สองสถาปนิกชาวญี่ปุ่นเจ้าของร่วมสตูดิโอ SANAA โดยเขาและเธอเป็นที่รู้จักดีในผลงานที่เรียบง่าย ลวงตาไร้รอยต่อ สว่าง โปร่งใส และลื่นไหล ทั้งคู่ยึดคติความสมดุลของทั้งพื้นที่เป็นหลัก และทำงานหนักด้วยการทดลองทุกความเป็นไปได้เพื่อทะลุข้อจำกัดของวัสดุที่จะใช้กับงานออกแบบ พวกเขามองอาคารสาธารณะเป็น “mountains in the landscape” แต่ละตึกจึงสร้างสรรค์อย่างสุดโต่งเพื่อเชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติโดยรอบ เห็นได้จากลูกเล่นลดหลั่นชั้นของ The New Museum แทนการกั้นผนังเพื่อแบ่งการใช้งาน หรือใช้กระจกแก้วในการเลือนเส้นขอบระหว่างพื้นที่ด้านในกับด้านนอกของ Toledo Museum of Art
 
ผลงานโด่งดัง : The New Museum of Contemporary Art ในนิวยอร์ก, Rolex Learning Center ในโลซานน์ และ O-Museum ในนากาโนะ
 
7. Wang Shu (2012)
สถาปนิกชาวจีนคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้ เอกลักษณ์ของ Wang Shu คือสถาปัตยกรรมที่เจาะเวลาพารากเหง้าวัฒนธรรมจีนอันแข็งแกร่งเข้าสู่รูปทรงของอาคารที่นำสมัย โดยมีเครื่องมีสำคัญคือ วัสดุเก่าแก่ดั้งเดิม เป็นเอกลักษณ์ของงานออกแบบฝีมือของเขา ซึ่งเมื่อนำมาปิดผิวอาคารทรงโมเดิร์นที่ออกแบบอย่างละเอียดแล้วจะยิ่งทำให้อาคารมีชีวิตชีวา สะดุดตาแก่ผู้พบเห็น แต่ยังคงลงตัวในการผสานอดีต-ปัจจุบันอย่างเหลือเชื่อ อาทิ กระเบื้องดินเหนียวที่ใช้ปิดผิว Ningbo History Museum ให้เต็มไปด้วยกลิ่นอายวัฒนธรรมจีน หรือ Xiangshan Campus of the China Academy of Art ซึ้งใช้กระเบื้องดินเผาที่ถูกทำลายกว่าล้านชิ้น
 
ผลงานโด่งดัง : Ningbo History Museum, Ceramic House และ Xiangshan Campus, China Academy of Art ในจีน
 
8. Toyo Ito (2013)
สถาปนิกที่ลับฝีมือในสตูดิโอของ Kenzo Tange เจ้าของรางวัล The Pritzker Prize ปี 1987 เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อผลักดันขอบเขตของสถาปัตยกรรมให้กว้างขึ้น และอุทิศตนในงานสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่อง ลายเซนต์ผลงานของเขาจึงสลักอยู่บนการแสวงหาอิสระจากกรอบเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีตที่แข็งกร้าวกลับลื่นไหล เหล็กหรือไม้สามารถสานทอให้เป็นโครงสร้างอันงดงาม ซึ่งปรากฎบนผลงานเลื่องชื่ออย่าง Sendai Mediatheque ที่สานเหล็กให้เป็นโครงสร้างรับน้ำหนักแทนเสาแบบอาคารทั่วไป หรือเปลือกอาคารที่เป็นทั้งผิวและโครงสร้างของร้าน TOD’S ในโตเกียว
 
ผลงานโด่งดัง : TOD’s Omotesando Building ในโตเกียว, Sendai Mediatheque ในเซนได และ Tower of Winds ในโยโกฮามา
 
9. Shigeru Ban (2014)
สถาปนิกชาวญี่ปุ่นผู้ใช้สถาปัตยกรรมสุดสร้างสรรค์บรรเทาความรุนแรงจากภัยพิบัติทั่วโลก งานของเขาโดดเด่นในดีไซน์อันยอดเยี่ยม ตอบสนองต่อความท้าทายอันเร่งด่วน และมีความเป็นมืออาชีพในการเลือกวัสดุ เครื่องมือ รวมถึงเทคนิคที่จะดึงประสิทธิภาพของวัสดุให้ถึงที่สุด อาทิ ท่อกระดาษเคลือบสารกันน้ำและหน่วงไฟสำหรับโบสถ์ Cardboad Cathedral ในนิวซีแลนด์ และ Paper Log House ในอินเดียที่ใช้ลังเบียร์เป็นฐานล่างและท่อกระดาษเป็นโครงสร้าง สถาปัตยกรรมฝีมือของบันจึงเข้าถึงง่าย เชื่อมโยงกับธรรมชาติ และที่สำคัญที่สุดคือ ตอบสนองทั้งด้านกายภาพและความรู้สึกของผู้คนให้พึ่งพิงได้ทั้งกายและใจในทุกช่วงเวลา ซึ่งถือได้ว่าเขามีความสามารถโดดเด่นในการใช้สถาปัตยกรรมสร้างประโยชน์แก่มวลมนุษยชาติอย่างแท้จริง
 
ผลงานโด่งดัง : Curtain Wall House ในโตเกียว, Paper Log House ในอินเดีย และ Cardboard Cathedral ในไครสต์เชิร์ช
 
10. Balkrishna (B. V.) Doshi (2018)
B. V. Doshi เป็นสถาปนิกและนักวางผังเมืองชาวอินเดีย พ่วงด้วยตำแหน่งเทรนนีที่ทำงานร่วมกับ Le Corbusier และ Louis Kahn สองสถาปนิกผู้ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษ เขาปรารถนาที่ใช้งานออกแบบสถาปัตย์เข้ายกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนในอินเดียอย่างยั่งยืน งานของเขาจึงไม่ฉูดฉาดหรือตามเทรนด์เสียทีเดียว เน้นเพียงให้ใช้งานได้จริงและเข้ากับชีวิตคนอินเดีย เห็นได้จาก Aranya Low Income Housing ที่อยู่อาศัยต้นทุนต่ำที่ไมีพื้นที่กึ่งสาธารณะที่ช่วยบังแดดและระบายความร้อน ให้ผู้คนรายได้น้อยได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และยังส่งต่อแรงบันดาลใจที่จะใช้สถาปัตยกรรมเพื่อชีวิตไปทั่ววงการ
 
ผลงานโด่งดัง : Aranya Low Income Housing, Kamala House และ Sangath Doshi’s Office ในอินเดีย
 
11. Arata Isozaki (2019)
สถาปนิกชาวญี่ปุ่นผู้ผ่านความโหดร้ายของระเบิดปรมาณูและมุ่งมั่นที่จะสร้างสถาปัตยกรรมที่ฟื้นฟูความเป็นอยู่ของผู้คน เขาเป็นสถาปนิกญี่ปุ่นคนแรกๆ ที่ได้ไปสร้างงานในต่างประเทศ เอกลักษณ์ของอิโซซากิคืองานสุดล้ำสมัยใต้อิทธิพลของศิลปะ brutalism ตามแบบฉบับของ Kenzo Tange เจ้านายคนแรกของเขา บวกกับความรู้ลึกซึ้งในศาสตร์การออกแบบ เขาจึงสร้างสรรค์งานอย่างไม่เหมือนใคร นำทรงเรขาคณิตดั้งเดิมมาใช้แต่ดัดแปลงใหม่ให้ล้ำสมัย สะดุดตา โดดเด่นด้วยสเกลและฟอร์มเฉียบคม เรียกได้ว่างานของเขาทรงพลังด้วยการให้ความสำคัญกับ ศิลปะของพื้นที่ ที่ได้ถูกนำไปศึกษาและตีความอย่างกว้างขวางในหมู่สถาปนิกรุ่นหลัง
 
ผลงานโด่งดัง : City in the Air ในชินจูกุ, MOMA Gunma ในกุนมะ Ark Nova ในลูเซิร์น และสนามกีฬา Sant Jordi สำหรับโอลิมปิก 1992 ณ บาร์เซโลนา
 
close
0